วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

คำอธิบายรายวิชา ส15101 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ส15101 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 80 ชั่วโมง

ศึกษา วิเคราะห์อธิบายความสำคัญของพระพุทธศาสนาและศาสนาที่ตนนับถือ ในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและหลักในการพัฒนาชาติไทย พุทธประวัติตั้งแต่เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์จนถึงพุทธกิจสำคัญ ประวัติศาสดาที่ตนนับถือ การประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิต ประวัติสาวก ชาดก/ศาสนิกชน
ตัวอย่าง องค์ประกอบและความสำคัญของพระไตรปิฎก คัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือ พระรัตนตรัย ไตรสิกขา หลักธรรมโอวาท 3 ในพระพุทธศาสนาหรือหลักธรรม และพุทธศาสนสุภาษิต เห็นคุณค่าของการสวดมนต์
แผ่เมตตา การฝึกสมาธิ การพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ การปฏิบัติตนตามหลักธรรม การพัฒนาตนเองและสิ่งแวดล้อม ศาสนพิธี พิธีกรรมทางศาสนา มรรยาทของศาสนิกชน และวันสำคัญทางศาสนา
การปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี การปกป้องคุ้มครองตนเองและผู้อื่น การละเมิดสิทธิเด็ก เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนโครงสร้าง อำนาจ หน้าที่และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น บทบาทหน้าที่ และวิธีการเข้าดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น ประโยชน์ที่ชุมชน จะได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ การประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรม ต่าง ๆ ในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน หลักการสำคัญและประโยชน์ของสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ของธนาคาร ผลดีและผลเสียของการกู้ยืมเงินทั้งนอกระบบและในระบบ
ความเป็นมาของท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ตอบคำถามทางประวัติศาสตร์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีนที่มีต่อไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ทางด้านเศรษฐกิจและการปกครอง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญสมัยอยุธยาและธนบุรีที่น่าภาคภูมิใจ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย สมัยอยุธยาและธนบุรี
ตำแหน่ง (พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองจิจูด) ระยะ ทิศทางของภูมิภาคของตนเอง ลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำคัญในภูมิภาคของตนเองในแผนที่ ลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมในภูมิภาคของตนเอง สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากรในภูมิภาค อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมในภูมิภาค การนำเสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและการทำลายสภาพแวดล้อม และการเสนอแนวคิด ในการรักษาสภาพแวดล้อมในภูมิภาค
โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ กระบวนกลุ่ม กระบวนสืบค้น กระบวนการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางจริยธรรม กระบวนการประชาธิปไตย
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีความซื่อสัตย์สุจริต รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ

รหัสตัวชี้วัด
ส 1.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, ป.5/6, ป.5/7
ส 1.2 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3
ส 2.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4
ส 2.2 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3
ส 3.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3
ส 3.2 ป.5/1, ป.5/2
ส 5.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3
ส 5.2 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3รวมทั้งหมด 28 ตัวชี้วัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น