วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

คำอธิบายรายวิชา ส16101 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 80 ชั่วโมง
ศึกษา วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ และความสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือ พุทธประวัติตั้งแต่ปลงอายุสังขารจนถึงสังเวชนียสถาน และประวัติศาสดาที่ตนนับถือ การประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่าง พระรัตนตรัย การปฏิบัติตามไตรสิกขาและหลักธรรมโอวาท 3 ในพระพุทธศาสนา และหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ การทำความดีของบุคคลในประเทศตามหลักศาสนา เห็นคุณค่าของการสวดมนต์ แผ่เมตตา การฝึกสมาธิและบริหารจิตเจริญปัญญา การพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ การปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ การแก้ปัญหาอบายมุขและ สิ่งเสพติด หลักธรรมสำคัญของศาสนาอื่นๆ ลักษณะสำคัญของศาสนพิธี พิธีกรรมของศาสนาอื่นๆ และการปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมในศาสนสถาน และการปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม มรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ประโยชน์ของการเข้าร่วมใน ศาสนพิธี พิธีกรรม กิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตน นับถือ
การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม มารยาทไทย ความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มคนในสังคมไทย ข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน บทบาท หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ การส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ บทบาท และความสำคัญของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ บทบาทของผู้บริโภค วิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาล การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น
ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญในอดีต สภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของกลุ่มอาเซียน พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ผลงานของบุคคลสำคัญด้านต่างๆสมัยรัตนโกสินทร์ ภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ที่น่าภาคภูมิใจ และควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (แผนที่ ภาพถ่ายชนิดต่าง ๆ) ลักษณะสำคัญทางกายภาพและสังคมของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศ การแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง การนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน
โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ กระบวนกลุ่ม กระบวนสืบค้น กระบวนการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางจริยธรรม กระบวนการประชาธิปไตย
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีความซื่อสัตย์สุจริต รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ

รหัสตัวชี้วัด
ส 1.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6, ป.6/7, ป.6/8, ป.6/9
ส 1.2 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4
ส 2.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5
ส 2.2 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3
ส 3.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3
ส 3.2 ป.6/1, ป.6/2
ส 5.1 ป.6/1, ป.6/2
ส 5.2 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3
รวมทั้งหมด 31 ตัวชี้วัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น